ความเป็นมา

          สถาบันวิปัสสนาธุระ เกิดขึ้นโดยดำริของ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ  อาสภมหาเถระ) ท่านเป็นบุคคลแรกที่นำการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ (หรือแบบพองหนอ-ยุบหนอ) จากพม่ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยในปี พ.ศ.๒๔๙๕

       ขณะที่ดำรงสมณะศักดิ์ที่พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) ได้ส่ง พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก  ญาณสิทฺธิ) ขณะเป็น พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙ ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานสายของมหาสีสยาดอ ที่สำนักศาสนยิสสา ประเทศพม่าเป็นเวลา ๑ ปี แล้วนำกลับมาสอน พร้อมทั้งพระพม่า ๒ รูป คือ พระภัททันตะ อาสภเถระ ปธานกัมมัฏฐานาจริยะ และพระอินทวังสเถระ กัมมัฏฐานาจริยะ โดยเปิดสอนครั้งแรกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จากนั้นจึงขยายไปเปิดสอนที่สาขาอื่น ทั่วราชอาณาจักร มีการตั้งกองการวิปัสสนาธุระที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

         ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๔o เมื่อรัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฯ ได้มีคำสั่งแบ่งส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย จึงได้กำหนดให้เป็นฝ่ายวิปัสสนาธุระ สังกัดส่วนธรรมนิเทศ มีภาระงานบริการอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแก่นิสิตบุคลากร และประชาชนทั่วไป ต่อมามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้มีประกาศ เรื่อง การแบ่งส่วนงาน พ.ศ.๒๕๕๖ และเรื่อง ภารกิจ อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัย

กิจกรรม

ระบบกรรมฐานแบบ “พองหนอ ยุบหนอ”
ความสำคัญของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน