การเดินจงกรม เป็นอิริยาบถหนึ่งที่มีความสำคัญคู่กับการนั่งกำหนดพองยุบคำว่า จงกรม เป็นภาษาสันสฤฤต มาจากภาษาบาลีว่า จงกรม ซึ่งมีความหมายว่า การเดินกลับไปกลับมา สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ นิยมเดินจงกลมและนั่งกรรมฐาน โดยใช้เวลาเท่ากันเป็นเบื้องต้น ซึ่งผิดกับบางสำนักที่ต้องใช้เวลานั่งเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง หรือบางสำนักอาจไม่เดินจงกรม เหตุผลที่ต้อง เดิน นั่ง เท่ากัน ก็เพื่อจะได้ปรับความเพียร (วิริยะ) กับความที่จิตมีสมาธิเท่าเทียมกัน อันเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติกำหนดได้ทันปัจจุบัน สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์กำหนดเวลาเดินจงกรม ๖ ระยะซึ่งได้อธิบายอย่างละเอียดไว้ในบทที่ ๓ ปัญหาที่หลาย ๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า การเดินจงกรม ๖ ระยะนี้มีมาในพระไตรปิฎกหรือไม่

ความจริงแล้วสำหรับการเดินจงกรมพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกบางพระสูตรซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสเรียกว่าเป็นการเดินจงกรม หากแต่ตรัสว่า เป็นการกำหนดสติที่กาย อันเป็นอิริยาบถหนึ่งในอิริยาบถทั้ง ๔ (กายานุปัสสนา อิริยาบถปัพพะ) ถ้าจะกล่าวในแง่ของการเดินจงกรม เราอาจกล่าวได้ว่า การเดินจงกรม ก็คือการเดินธรรมดา จะผิดกับการเดินธรรมดาทั่ว ๆ ไป ตรงที่การเดินจงกรมเป็นการเดินอย่างมี “สติ” หรือมีสติคอยกำหนดอยู่ในเวลาเดินดังพระไตรปิฎกที่ว่า 

“ภิขฺเว คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ”

แปลว่า เมื่อภิกษุผู้ปฏิบัติเดินอยู่ ก็รู้ว่ากำลังเดินอยู่

ความหมายของการเดินจงกรมในพระไตรปิฎก เป็นการตรัสไว้กว้างๆ มองไม่เห็นแนวทางในการปฏิบัติจริง เพราะโดยปกติจิตของคนจะนึกคิดเรื่องราวต่าง ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น พระอรรถกถาจารย์ผู้ที่รู้ความประสงค์ของพระพุทธเจ้า จึงอธิบายวิธีทีพระพุทธเจ้าทรงตรัสให้ง่ายต่อการปฏิบัติ ไม่เช่นนั้น ผู้ที่ไม่เข้าใจแนวพุทธประสงค์ก็จะไม่สามารถที่จะนำมาปฏิบัติได้ วิธีการอธิบายการเดินจงกรมอย่างละเอียด และสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เราจึงพบในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาเช่น “ตโตเอกปทวารํ อุทฺธรณอติหรณวีติหรณโวสฺสชฺชนสนฺนิเขปนสนฺนิรุมฺภนวเสนฉโกฎฐาเสกโรติ” (วิสุทฺธิ.๓ : ๒๕๑) แปลว่า การเดินจงกรมนั้น แบ่งเท้าแต่ละก้าวออกเป็น ๖ ระยะ 

ซึ่งสามารถเทียบได้กับการเดินจงกรมของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ดังนี้

(๑)การยกเท้าขึ้นจากพื้น (อุทธรณํ นาม ปาทสฺส ภูมิโต อุกฺขปนํ) ชื่อว่า อุทธรณะ เทียบได้กับ “ยกส้นหนอ” (การยกส้นเท้าขึ้นอย่างเดียว)

(๒)การยื่นเท้าไปข้างหน้า (อติหรณํ นาม ปุรโต หรณํ) ชื่อว่า อติหรณะ) เทียบได้กับ “ยกหนอ” (ยกปลายเข้าขึ้น)

(๓)เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นตอ หนาม หรืองูเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วย้ายเท้าไปข้างนี้และข้างนี้ (วีติหรณํ ขานุณฺฏกทีฑชาติอาทีสุ กิญฺจิเทว ทิสฺวา อิโต จิโต ว ปาทสญฺนนํ นาม) เรียกว่า วิตีหรณะ เทียบได้กับ “ย่างหนอ” (ย่างเท้าไปข้างหน้า)

(๔)เมื่อลดหย่อนเท้าให้ต่ำลงกับพื้น (โวสฺสชฺชนํ นาม ปาทสฺส โอโรปนํ) เรียกว่าโวสัชชนะ เทียบได้กับ ลงหนอ (ลดระดับเท้าลงแต่ยังไม่ถึงพื้น)

(๕)เมื่อวางเท้าลงที่พื้นดิน (สนฺนิเขปนํ นาม ปฐวีตเล ฐปนํ) เรียกว่า สันนิเขปนะ เทียบได้กับ “ถูกหนอ” (ปลายเท้าแตะพื้น)

(๖)ขณะยกเท้าก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่งกดเท้าอีกหนึ่งไว้กับพื้น (สนฺนิรุมภฺนํ  นาม  ปุน  ปาทุทฺธรณกาเล ปาทสฺส ปฐวิยา สทฺธึ อภินิปฺปีฬนํ) เรียกว่า สันนิรุมภนะ เทียบได้กับ “กดหนอ” (วางเฉพาะส้นเท้าลง)

ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงการเดินจงกรมในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ทางสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ มีวิธีการเดินจงกรมที่ใช้ตามแบบอรรถกถามากกว่าในพระไตรปิฎก อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่าการเดินจงกรมในพระไตรปิฎก เป็นทฤษฎีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้แบบกว้าง ๆ คนที่เกิดภายหลังไม่ทราบสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่าทรงอธิบายไว้ว่าอย่างไร จึงต้องอาศัยการตีความของพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้การอธิบายของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเดินจงกรมในพระไตรปิฎกกับอรรถกถา จะมีความแตกต่างกันในเรื่องวิธีการปฏิบัติ แต่จะไม่แตกต่างกันเลยในเรื่องของ “สาระสำคัญ” ดังนั้น พระวิปัสสนาจารย์สายวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ หรือแม้แต่พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่า สายมหาสีสยาดอ ต่างก็จะอธิบายว่า ความสำคัญของการเดินจงกรมมิได้อยู่ที่ระยะเดียวหรือเพิ่มระยะมาก ขึ้นอยู่ที่กำหนดสติ กับอาการเคลื่อนไหวของเท้าเป็นสำคัญ เช่น ขณะเดินอยู่ไม่ว่าระยะใด ก็คอยกำหนดสติให้ทันปัจจุบัน ให้รู้ว่าอาการที่เท้าเคลื่อนไหวไปกับสติที่กำหนดให้ทันกันพอดี ไม่ก่อนหรือไม่หลัง การปฏิบัติเช่นนี้ จึงจะทำให้การเดินจงกรมได้ผล และในทางตรงกันข้าม แม้ว่าผู้ปฏิบัติจะพยายามเดินระยะสูง ๆ เช่น ระยะที่ ๔ – ๖  หากผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดอาการเคลื่อนไหวของเท้าให้ทันปัจจุบันได้ การปฏิบัติวิปัสสนาก็ไม่สามารถสัมฤทธิ์ผลได้เลย ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องไปกังวลว่า เราจะเดินตามหลักพระไตรปิฎก หรืออรรถกถา เพียงแต่เราเดินด้วยความตั้งใจจริง (อาตาปี) มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) และมีความรู้สึกระลึกได้อยู่เสมอ (สติมา)[2] การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในอิริยาบถเดินจงกรมก็ถือว่า ถูกต้องตามหลักพระไตรปิฎกและอรรถกถาแล้ว 

ปัญหาที่น่าสนใจ ก็คือว่า 

ทำไมการเดินจงกรมในพระไตรปิฎกมีการเดินจงกรมแค่เพียงระยะเดียว ส่วนในอรรถกถามีถึง ๖ ระยะด้วยกัน ท่านพระภัททันตะ อาสภมหาเถระ พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่าได้อธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธเจ้ามีกิเลสบางเบา เพียงแต่เดินจงกรมระยะเดียว เช่น พระไตรปิฎก “คจฺฉนํโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ” เมื่อเดินจงกรมอยู่ก็รู้ว่า กำลังเดินอยู่ จิตเป็นสมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน สามารถบรรลุธรรมได้ในทันทีทันใด แต่คนรุ่นหลังอยู่ในภาวะที่ตรงข้าม คือเป็นผู้มีกิเลสหนาแน่น แม้จะเดินจงกรมระยะเดียวเท่านั้นก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องอาศัยการเดินจงกรมหลายระยะ กระนั้นก็ตาม การกำหนดอิริยาบถเดินให้ทันปัจจุบัน ก็ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง ที่จะทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ โดยที่ผู้ปฏิบัติในยุคปัจจุบันไม่ควรกังวลว่าตนเองมีกิเลสมาก

ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ 

การเดินจงกรมเพียงอย่างเดียว โดยไม่นั่งกรรมฐานเลย จะมีอุปสรรคต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหรือไม่ ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ เบื้องต้นเราก็ต้องนึกถึงหลักความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของคนเราว่า เราจะรู้สึกไม่สบายเลย เมื่อเราต้อง ยืน เดิน นั่ง หรือนอนมากเกินไป หรือไม่เกิดดุลยภาพในชีวิต เป็นผลทำให้เรา “อายุสั้น” เพราะเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป ดังนั้น อิริยาบถของเราก็เช่นเดียวกัน ต้องให้ “สม่ำเสมอ พอเหมาะ” เท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็เช่นเดียวกัน การเดินจงกรมมากกว่านั่ง จะเป็นการเพิ่มความพากเพียร (วิริยะ) มากเกินไป ผลก็คือทำให้ผู้ปฏิบัติ ฟุ้งซ่านได้ง่าย ทำให้การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นการเดินจงกรมควรใช้เวลาเท่ากับการนั่งกรรมฐาน  ศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเกิดขึ้นและสามารถทำลายจิตที่สร้างอัตตา ตัวตน ได้จนหมดสิ้น

ปัญหาที่น่าสนใจ ก็คือว่า 

ทำไมการเดินจงกรมในพระไตรปิฎกมีการเดินจงกรมแค่เพียงระยะเดียว ส่วนในอรรถกถามีถึง ๖ ระยะด้วยกัน ท่านพระภัททันตะ อาสภมหาเถระ พระวิปัสสนาจารย์ชาวพม่าได้อธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า พระพุทธเจ้า หรือพระอรหันตสาวกในสมัยพุทธเจ้ามีกิเลสบางเบา เพียงแต่เดินจงกรมระยะเดียว เช่น พระไตรปิฎก “คจฺฉนํโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ” เมื่อเดินจงกรมอยู่ก็รู้ว่า กำลังเดินอยู่ จิตเป็นสมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน สามารถบรรลุธรรมได้ในทันทีทันใด แต่คนรุ่นหลังอยู่ในภาวะที่ตรงข้าม คือเป็นผู้มีกิเลสหนาแน่น แม้จะเดินจงกรมระยะเดียวเท่านั้นก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ง่าย ดังนั้น จึงต้องอาศัยการเดินจงกรมหลายระยะ กระนั้นก็ตาม การกำหนดอิริยาบถเดินให้ทันปัจจุบัน ก็ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง ที่จะทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ โดยที่ผู้ปฏิบัติในยุคปัจจุบันไม่ควรกังวลว่าตนเองมีกิเลสมาก

ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ 

การเดินจงกรมเพียงอย่างเดียว โดยไม่นั่งกรรมฐานเลย จะมีอุปสรรคต่อการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานหรือไม่ ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ เบื้องต้นเราก็ต้องนึกถึงหลักความเป็นจริงในชีวิตประจำวันของคนเราว่า เราจะรู้สึกไม่สบายเลย เมื่อเราต้อง ยืน เดิน นั่ง หรือนอนมากเกินไป หรือไม่เกิดดุลยภาพในชีวิต เป็นผลทำให้เรา “อายุสั้น” เพราะเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป ดังนั้น อิริยาบถของเราก็เช่นเดียวกัน ต้องให้ “สม่ำเสมอ พอเหมาะ” เท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็เช่นเดียวกัน การเดินจงกรมมากกว่านั่ง จะเป็นการเพิ่มความพากเพียร (วิริยะ) มากเกินไป ผลก็คือทำให้ผู้ปฏิบัติ ฟุ้งซ่านได้ง่าย ทำให้การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะฉะนั้นการเดินจงกรมควรใช้เวลาเท่ากับการนั่งกรรมฐาน  ศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเกิดขึ้นและสามารถทำลายจิตที่สร้างอัตตา ตัวตน ได้จนหมดสิ้น

นอกจากการเดินจงกรมแล้ว แม้แต่การยืน การนอน ก็ต้องกำหนดเหมือนกัน สำหรับการยืน เวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทั้งพระไตรปิฎกและสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จะถือปฏิบัติตรงกันคือ สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์นั้นเวลาผู้ปฏิบัติยืนอยู่ ก็จะให้กำหนดว่า “ยืนหนอ” ซึ่งตรงกับหลักฐานในพระไตรปิฎกว่า 

“ฐิโต วา ฐิโตม หิติ ปชานาติ” 

ผู้ปฏิบัติยืนอยู่ก็รู้ว่ายืนอยู่

การกำหนดว่า “ยืนหนอ” ในขณะที่ผู้ปฏิบัติกำลังยืนอยู่ถือว่า กำหนดได้ตรงสภาวะตามความเป็นจริงที่สุด เพราะกำลังยืนอยู่จริง ๆ การกำหนดตามความเป็นจริงจะทำให้การปฏิบัติดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ แม้ในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติจะยังยึดติดอยู่กับอารมณ์ที่เป็นบัญญัติ คือ ยืน เรายืน ฯลฯ ก็ตาม แต่เมื่อกำลังของสติ สมาธิ ปัญญา มีเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้เราสามารถ “ละ” อารมณ์ที่เป็นบัญญัติ มองเห็นสภาวะที่อัตตา ตัวตน ตกอยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ ความยึดมั่นถือมั่นที่มีอยู่ก็จะลดน้อยลงไป

ในทำนองเดียวกัน แม้แต่ในอิริยาบถนอน ในสำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ก็จะให้กำหนด “นอนหนอ” ซึ่งตรงกับพระไตรปิฎกว่า 

“สยาโนวา สยาโนมหีติ ปชานาติ

ซึ่งแปลว่า เวลานอนก็รู้ว่ากำลังนอนอยู่ 

การกำหนดรู้ว่า “นอนหนอ” ผู้ปฏิบัติก็สามารถกำหนดได้ แต่การกำหนด “นอนหนอ” ยังเป็นการกำหนดอารมณ์ที่กว้างคล้ายกับ “เดินหนอ” หรือ “นั่งหนอ” ทำให้ผู้ปฏิบัติกำหนดไม่สะดวกนัก ดังนั้น การปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น ต้องกำหนด “นอนหนอ” ให้น้อย ส่วนใหญ่ต้องกำหนด “พองหนอ ยุบหนอ” จนกว่าจะหลับไป การกำหนด “พองหนอ ยุบหนอ” ในอิริยาบถนอนเป็นอารมณ์ที่แคบเข้ามา ทำให้จิตมีสมาธิมากกำหนดนอนหนอ ซึ่งบางครั้งการกำหนด “นอนหนอ” มักจะทำให้ผู้ปฏิบัติหลับง่ายเกินไป โอกาสที่จะทำความเพียรปฏิบัติธรรม ก็มีน้อยตามมาด้วย